เมล็ดเชีย/เมล็ดเจีย (Chia seeds) คืออะไร
เมล็ดเชียหรือเมล็ดเจียได้รับการยกย่องว่าเป็นซุปเปอร์ฟู้ดหรือขุมทรัพย์ของสารอาหาร เพราะเป็นหนึ่งในอาหารธรรมชาติที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากที่สุดอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว ปัจจุบันคนทั่วโลกนิยมนำมารับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ และนำน้ำมันเมล็ดเชียมาบำรุงความงาม
ประวัติแหล่งกำเนิดของเมล็ดเชีย
เมล็ดเชียมีแหล่งกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ในบริเวณเขตประเทศเม็กซิโกและโบลิเวีย มีประวัติย้อนไปตั้งแต่กว่า 3,500 ปีตั้งแต่สมัยแอซเท็คมายันโบราณ ซึ่งคนในสมัยนั้นเชื่อว่าเมล็ดเชียมีประโยชน์ต่อร่างกายมากจึงนำไปประกอบอาหารหลายชนิด เช่นนำไปบดรวมกับแป้งสำหรับประกอบอาหาร โดยเฉพาะคุณค่าในน้ำมันเมล็ดเชีย โบราณนิยมนำเมล็ดเชียมาครั้งเพื่อให้ได้น้ำมันออกมาใช้ดื่มรับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย
ในยุคต่อมาเมื่อประเทศทางอเมริกาใต้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสเปน สเปนต้องการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงออกกฎห้ามไม่ให้ประเทศต่างๆ ปลูกและเพาะพันธุ์เมล็ดเชียอีกต่อไป ทำให้ธัญพืชที่เคยนิยมในโบราณค่อยๆสูญหายและถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา
จนเมื่อเข้าสู่ยุคใหม่ นักวิทยาศาสตร์อเมริกันได้ค้นคว้าวิจัยและค้นพบคุณประโยชน์ที่มากมายในเมล็ดเชีย จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วประเทศอเมริกา ดารา นักร้อง ผู้ที่ชอบดูแลสุขภาพและผู้ที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ต่างเริ่มหันมานิยมรับประทานกัน ทั้งในวงการการแพทย์และความงามต่างเริ่มหันมาให้ความสนใจ จนแพร่กระจายจากอเมริกาไปจนถึงยุโรป และล่าสุดเพิ่งเริ่มนิยมกันในประเทศแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทยเรานั่นเอง
ลักษณะของต้นและเมล็ดเชีย
เมล็ดเชียหรือเมล็ดเจีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Salvia Hispanica L.” ต้นที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร
เมล็ดเชียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเมล็ดแมงลัก แต่จะมีลักษณะเรียวกว่า สีอ่อนกว่าและมีลวดลายเล็กน้อย ในขณะที่เมล็ดแมงลักจะมีสีดำเข้มและมองไม่เห็นลวดลาย แต่เมื่อแช่น้ำแล้วมีลักษณะพองน้ำเช่นเดียวกับเมล็ดแมงลัก แต่เมล็ดเชียเมื่อพองตัวจะมีลักษณะใส ส่วนเมล็ดแมงลักเมื่อพองตัวจะมีสีขุ่น เมื่อเมล็ดเชียพองตัวจะมีขนาดเป็น 10-12 เท่าจากเดิมเลยทีเดียว
เมล็ดเชียหลักๆแล้วแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ เมล็ดเชียสีดำ (White chia seeds) และเมล็ดเชียสีขาว (Black chia seeds) เมล็ดเชียทั้งสองชนิดมีสารอาหารที่คล้ายคลึงกัน ยกเว้นปริมาณสารแอนตี้ออกซิแดนท์หรือสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดเชียสีดำจะมีปริมาณสูงกว่าชนิดสีขาว อย่างไรก็ตามการรับประทานร่วมกันทั้ง 2 ชนิดจะให้คุณค่าสารอาหารที่สมบูรณ์ที่สุด
แหล่งปลูกต้นเชีย
ปัจจุบันในต่างประเทศนิยมปลูกมากในประเทศสหรัฐอเมริกา และแถบทวีปอเมริกาใต้ เช่นประเทศเม็กซิโก โบลีเวีย กัวเตมาลา เอกวาดอร์ และอาร์เจนติน่า เป็นต้น มีบางส่วนเพาะปลูกอยู่ในประเทศออสเตรเลีย
ในส่วนประเทศไทยปัจจุบันเมล็ดเชียยังไม่ปลูกจำหน่ายอย่างแพร่หลาย จะต้องนำเข้าจากผู้ผลิตในต่างประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากเมล็ดเชียเจริญเติบโตได้ดีในที่ๆมีอากาศหนาวเย็น จึงมีการเริ่มเพาะพันธุ์ปลูกในจังหวัดลำปางและกาญจนบุรี
น้ำมันเมล็ดเชีย (Chia seeds oil) คืออะไร
น้ำมันเมล็ดเชียคือน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดเชีย/เมล็ดเจีย ซึ่งรวมสารอาหารสำคัญไว้อย่างครบถ้วน นิยมนำมาใช้ทางรับประทานและใช้เป็นน้ำมันบำรุงผิว
ในการรับประทานสามารถนำไปผสมกับอาหารและเครื่องดื่มได้หลายอย่าง โดยในรูปแบบน้ำมันนี้จะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่ารูปแบบเมล็ด
ในส่วนของการใช้ภายนอก นิยมใช้ทาบำรุงผิวหน้า ผิวกาย ริมฝีปาก เล็บ ไปจนถึงเส้นผมและหนังศีรษะ มีการใช้ทั้งในรูปแบบเซรั่มบำรุงผิวหน้า เซรั่มบำรุงเส้นผม มาร์คหน้า สบู่ โลชั่น แชมพูครีมนวด เป็นต้น
ประโยชน์ของเมล็ดเชีย (Chia seed benefits)
ประโยชน์ด้านสุขภาพ
- บำรุงหัวใจ
- สารอาหารในเมล็ดเจียโดยเฉพาะ omega 3 และ 6 ช่วยบำรุงระบบการไหลเวียนเลือด ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด บำรุงให้หัวใจแข็งแรงขึ้น
- บำรุงสมองเสริมความจำ
- เราคงเคยได้ยินกันว่ากินปลาเยอะๆแล้วจะฉลาด เพราะปลามีสารโอเมก้า 3 สูงโดยเฉพาะปลาแซลมอน แต่นักวิจัยค้นพบว่าเมล็ดเชียมีปริมาณกรดไขมันดีโอเมก้า 3 สูงยิ่งกว่าปลาแซลมอนถึง 9 เท่า และยิ่งสูงขึ้นไปอีกในน้ำมันเมล็ดเชีย เราจึงได้ประโยชน์ในการบำรุงสมองและระบบประสาท และช่วยเพิ่มสมาธิการจดจ่อให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
- ป้องกันเบาหวาน
- เมล็ดเชียประกอบไปด้วยกากใยไฟเบอร์ในปริมาณที่สูงมาก ในขณะที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งต่ำ จึงช่วยคงความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จึงช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ โดยเฉพาะโรคเบาหวานประเภทที่ 2
- จากการศึกษาวิจัยในหนูทดลองพบว่าเมล็ดเชียสามารถช่วยลดค่าไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มไขมันดีชนิด HDL ได้
- จัดการศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้ทดลองให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 20 คนทดลองรับประทานเมล็ดเจียปริมาณ 37 กรัมทุกวันติดต่อกัน 3 เดือน พบว่าค่าเลือดต่างๆดีขึ้นอย่างชัดเจน
- บำรุงการนอนหลับ
- กรดอะมิโนโปรตีนปริมาณมากในเมล็ดเชียช่วยปรับสมดุลการหลั่งฮอร์โมนการนอนหลับและเพิ่มคุณภาพของการนอนหลับให้ดีขึ้น
- ซ่อมแซมเซลล์และชะลอวัย
- เมล็ดเจียเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนโปรตีนที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆในร่างกายให้กลับมาแข็งแรง เพราะเซลล์ในร่างกายควรสร้างขึ้นมาจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก และกรดอะมิโนโปรตีนมีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งเรามักจะได้รับไม่ครบถ้วนหากรับประทานแต่เพียงเนื้อสัตว์หรือกรดอะมิโนโปรตีนจากสัตว์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนโปรตีนหลายชนิดจากพืช จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมแซมเซลล์ให้ดีขึ้น จึงสามารถคงความอ่อนวัยของเซลล์และอวัยวะต่างๆในร่างกาย
- เมล็ดเชียอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระคุณภาพสูงหลายชนิด ซึ่งช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความชราภาพ
- นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยคงความสมดุลของเซลล์ให้เซลล์ไม่เสื่อมสภาพเร็ว
- ป้องกันโรคกระดูกพรุน บำรุงกระดูกและฟัน
- มีแร่ธาตุมากมายที่สำคัญต่อการบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ที่สำคัญคือ แคลเซียม แมกนีเซียมสังกะสี วิตามินเอ โปรตีนและฟอสฟอรัส ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคกระดูกบางและกระดูกพรุน
- สำหรับในการบำรุงฟัน แคลเซียมจะช่วยสร้างฟันที่แข็งแรง ส่วนสังกะสีจะช่วยป้องกันการเกิดคราบหินปูน ป้องกันแบคทีเรีย และช่วยลดกลิ่นปาก ในขณะที่วิตามินเอและฟอสฟอรัสมีส่วนสำคัญในการคงสมดุลและรักษาสุขภาพของช่องปาก
- บำรุงระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
- เมล็ดเชียมีกากใยไฟเบอร์ปริมาณมาก จึงช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
- ป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน
- ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยให้แผลหายไวขึ้น
- เมล็ดเชียโดยเฉพาะน้ำมันเมล็ดเชียมีฤทธิ์ต้านการอักเสบสูง เพราะกรดไขมันดีโอเมก้า 3 ที่อยู่ในน้ำมันเมล็ดเชีย จะถูกเปลี่ยนเป็นสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งสารนี้ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อและต้านการอักเสบ
- เติมเต็มสารอาหารพื้นฐานหลายชนิด เป็นแหล่งพลังงาน
- มีสารอาหารพื้นฐานหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย
- บำรุงสุขภาพจิตช่วยให้อารมณ์ดี
- เมล็ดเชียมีกรดอะมิโนโปรตีนที่ชื่อว่าทริปโตแฟนในปริมาณมาก ซึ่งสารเมล็ดเชียนี้เป็นสารตั้งต้นที่ช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าเซโรโทนิน และสารเซโรโทนิน ที่ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลอารมณ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะอารมณ์ที่เกี่ยวกับความโกรธและความก้าวร้าว
ประโยชน์ด้านความงาม
- ป้องกันผิวแห้ง
- เมล็ดเชียขึ้นชื่อว่ามีโอเมก้า 3 ในปริมาณสูงมากหรือเรียกว่า ซุปเปอร์โอเมก้า 3 ซึ่งมีคุณสมบัติในการเก็บน้ำไว้ใต้ผิว โดยเฉพาะเมื่อใช้ในรูปแบบของน้ำมันเมล็ดเชีย จะยิ่งช่วยให้ผิวอิ่มน้ำ ดูมีน้ำมีนวลได้ และได้ขึ้นชื่อว่าเป็นซุปเปอร์มอยเจอร์ไรเซอร์
- ในทางคลินิกการแพทย์ผิวหนังมีการนำน้ำมันเมล็ดเชียไปใช้ในการบรรเทาผู้ป่วยโรคผิวหนังที่มีอาการของผิวแห้งตึง ผิวคัน ผิวแพ้ และผิวอักเสบ
- นิยมใช้ทาบำรุงผิวพรรณทั้งผิวหน้าผิวกาย ไปจนถึงบริเวณผิวอ่อน เช่น บริเวณรอบดวงตาและริมฝีปาก
- ลดรอยเหี่ยวย่นรอยตีนกา ชะลอวัยให้กับเซลล์ผิว
- เมล็ดเจียมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงยิ่งกว่าผลไม้จำพวกเบอร์รี่ ซึ่งช่วยป้องกันเซลล์ผิวถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ และประกอบกับคุณสมบัติจากโอเมก้า 3 ที่ช่วยในการรักษาความอิ่มน้ำของผิวเพื่อคงสมดุลภายในเซลล์ผิวให้ทำงานได้เป็นปกติ จึงมีคุณสมบัติในการช่วยชะลอวัยให้กับเซลล์ผิว
- ลดปัญหาสิว
- ไม่ได้เชียร์มีแร่ธาตุและวิตามินมากมายที่มีส่วนช่วยในการป้องกันสิว ไม่ว่าจะเป็นโอเมก้า 3 สังกะสี วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี วิตามินบี จึงช่วยต้านการอักเสบของผิวหนังและฟื้นฟูรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว
- บำรุงเส้นผม
- เมล็ดเจียมีสารอาหารมากมายที่เป็นพื้นฐานของเส้นผมที่มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็น สังกะสี โปรตีน วิตามินบี และวิตามินแร่ธาตุอีกมากมาย
ประโยชน์ด้านการลดน้ำหนัก
- ช่วยให้อิ่มเร็ว
- เมล็ดเชียช่วยควบคุมความอยากอาหาร เนื่องจากมีกากใยไฟเบอร์สูงที่มีคุณสมบัติในการพองตัว และจะพองตัวโดยการดูดซึมซับของเหลวเข้าไป เมื่อทานเข้าไปเราจึงรู้สึกอิ่มท้องง่าย
- อีกทั้งกากใยไฟเบอร์ที่เราทานเข้าไปนั้นจะสามารถย่อยในกระเพาะเราได้ง่าย แต่จะใช้เวลานานในการย่อย จึงทำให้เราอิ่มท้องไปได้นาน
- แคลอรี่น้อย แต่อุดมไปด้วยสารอาหารพื้นฐานที่จำเป็นต่อร่างกาย
- สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้รู้สึกหิวคือเป็นสัญญาณว่าร่างกายขาดสารอาหาร ไม่ได้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารพื้นฐานมากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงเหมาะกับการลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพพร้อมไม่ทำให้ขาดสารอาหาร และเนื่องจากแคลอรี่น้อยจึงไม่เกิดการสะสมของไขมันอีกด้วย
คุณค่าสารอาหารในเมล็ดเชีย (Chia seeds nutrition)
เมล็ดเชียปริมาณ 100 กรัมมีคุณค่าสารอาหารหลักๆดังต่อไปนี้
- 486 แคลอรี่
- กรดไขมัน 47% รวมปริมาณ 31 กรัม
- คอเลสเตอรอล 0%
- โซเดียม 0 % รวมปริมาณ 16 mg
- โพแทสเซียม 11% รวมปริมาณ 407 mg
- คาร์โบไฮเดรต 14% รวมปริมาณ 42 กรัมซึ่งประกอบไปด้วยกากใยอาหาร 34 กรัม
- โปรตีน 34% รวมปริมาณ 17 g
- วิตามินเอ 1%
- วิตามินซี 2%
- แคลเซียม 63%
- ธาตุเหล็ก 42%
- แมกนีเซียม 83%
- วิตามินบี 12 และวิตามินแร่ธาตุไมโครนิวเทรี้ยนอีกมากมาย
สารอาหารสำคัญทั้งหมดดูในรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
- กรดไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย – เมล็ดเชียอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 +6+9 ที่อยู่ในสัดส่วนที่สมบูรณ์
- โอเมก้า 3
- มีปริมาณมากกว่าปลาแซลมอน 7 เท่า และนับว่าเป็นสารอาหารจากธรรมชาติที่มีปริมาณโอเมก้า 3 เข้มข้นที่สุดในสารอาหารธรรมชาติที่พบทั้งหมดในปัจจุบัน
- ในด้านการรับประทาน โอเมก้า 3 ขึ้นชื่อในด้านการบำรุงสมองและระบบประสาท บำรุงจอประสาทตา
- แม้ว่าเมล็ดเชียจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นชนิด ALA (Alpha Linolenic Acid) ซึ่งจะดูดซึมทางกระเพาะอาหารได้ไม่ดีเหมือน DHA และ EPA ด้วยเหตุนี้โอเมก้า 3 จากปลาจึงมีข้อได้เปรียบอยู่บางด้านในการรับประทานเพื่อสุขภาพ
- แต่อย่างไรก็ตาม ALA นี่เอง ที่จัดการวิจัยระบุว่าสามารถช่วยป้องกันการแพร่ขยายของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งทรวงอก
- โอเมก้า 6 + โอเมก้า 9 อยู่ในส่วนที่สมดุลและสมบูรณ์ต่อผิว
- โปรตีน
- มีปริมาณกรดอะมิโนโปรตีนมากกว่าเมล็ดถั่ว 5 เท่า หรือมีปริมาณ 14 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับน้ำหนักซึ่งจัดว่าสูงมากเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ และมีกรดอะมิโนที่หลากหลาย โดยกรดอะมิโนโปรตีนเหล่านี้ทำหน้าที่บำรุงรักษาซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายที่สึกหรอ จึงมีผลในการสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมเซลล์เก่า บำรุงรักษาอวัยวะต่างๆให้แข็งแรง รวมถึงผลลัพธ์ด้านการชะลอความชรา
- ไฟเบอร์
- คาร์โบไฮเดรตหรือแป้งส่วนใหญ่ที่อยู่ในเมล็ดเชียล้วนแล้วแต่เป็นกากใยอาหาร เมื่อวานแล้วจะมีปริมาณกากใยถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกากใยสูงที่สุดในโลกในขณะที่มีแคลอรี่ต่ำ ซึ่งไฟเบอร์นี้มีส่วนช่วยในระบบการย่อย การดูซึม ระบบขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน และช่วยสมดุลน้ำหนัก ดักจับไขมัน และทำให้อิ่มเร็ว
- โดยเฉพาะไฟเบอร์มูซิลเลจ (Mucilage) ที่มีผลในการช่วยลดความเสี่ยงในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โดยช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะช่วยลดการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล
- สารต้านอนุมูลอิสระ
- มีปริมาณมากกว่าบลูเบอร์รี่ 5 เท่า
- ฟอสฟอรัส
- มีปริมาณมากกว่านม 8 เท่า
- โพแทสเซียม
- มีปริมาณมากกว่าบร็อคโคลี่ 14 เท่า
- ธาตุเหล็ก
- มีปริมาณมากกว่าผักขม 2 เท่า
- แคลเซียม
- มีปริมาณสูงกว่าผลิตภัณฑ์จากนม
- โฟเลต
- มีปริมาณมากกว่าหน่อไม้ฝรั่ง
- ซีลีเนียม
- มีปริมาณมากกว่าเมล็ดแฟลกซ์ 3 เท่า
- และวิตามินแร่ธาตุอื่นๆอีกมากมาย เช่น โบรอน แมกนีเซียม แมงกานีส วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี
ปริมาณรับประทานเมล็ดเชียที่แนะนำ
ในเด็ก แนะนำรับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ในผู้ใหญ่ แนะนำรับประทานวันละ 2 ช้อนโต๊ะ
ข้อเสียและข้อควรระวังในการรับประทานเมล็ดเชีย
- หากรับประทานเมล็ดเชียแบบดิบๆที่ไม่ผสมน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำเพราะเมล็ดเชียแบบดิมจะดูดซึมน้ำจากร่างกายของเราในปริมาณสูง
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- ไม่ควรรับประทานในปริมาณสูง เพราะเส้นใยที่พองตัวขึ้นอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้
- มีบางกระแสกล่าวว่าผู้ชายถ้ารับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลูกหมากได้ เพราะในเมล็ดเชียมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ชื่อว่าแอลฟาไลโนเลอิก ซึ่งการได้รับปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคได้ แต่ข้อมูลนี้ยังค่อนข้างคลุมเคลืออยู่และยังไม่มีการวิจัยรับรองที่ชัดเจน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกับวิตามินบี 17 เพราะจะเกิดการเพิ่มปริมาณของสารไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งได้
ใครบ้างที่ไม่ควรรับประทานเมล็ดเชีย
- ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการทำศัลยกรรมหรือผ่าตัด
- เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเลือดแข็งตัวช้า
- ผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ
- เพราะอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อความดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดการช็อกหรือหมดสติได้
- ผู้ที่มีปัญหากระเพาะลำไส้ผิดปกติ
- กรดไหลย้อน แสบร้อนในทรวงอก
- มีแก๊สเยอะลมเยอะในกระเพาะอาหาร ลำไส้ มักมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
- ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรรับประทานเนื่องจาก เมล็ดเชียมีเส้นใยไฟเบอร์ในปริมาณสูง เมื่อรับประทานเข้าไป ไฟเบอร์จะเกิดการขยายตัวในกระเพาะและจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตน้ำย่อยออกมาเพิ่มนั่นเอง
- ผู้หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงให้นมบุตร
- เนื่องจากมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารอาหารในน้ำนมได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ยังคลุมเคลือว่าให้ประโยชน์หรือโทษ เพราะยังไม่มีการสรุปทางการวิจัยที่แน่นอน
- ผู้ที่แพ้ยาแอสไพริน
แนะนำเมนูรับประทานกับเมล็ดเจีย
เมล็ดเจียสามารถนำไปทำอาหารได้ง่ายหลายเมนู โดยเฉพาะนำไปเป็นส่วนประกอบร่วมกับอาหารอื่นอื่นๆทั่วไป เพราะเมล็ดเจียค่อนข้างมีรสชาติจืดไม่มีกลิ่นและรสที่ใดเป็นพิเศษจึงง่ายต่อการนำไปรวมกับอาหารชนิดอื่นๆ และวิธีการกินก็ง่ายอีกด้วยเพราะว่าไม่จำเป็นที่จะต้องนำไปบดหรือต้มเป็นพิเศษ สามารถรับประทานแบบดิบๆหรือว่าผสมในอาหาร ในน้ำหรือเครื่องดื่มได้แทบทั้งหมด ซึ่งเป็นการเติมสารอาหารให้กับอาหารที่คุณรับประทานอยู่แล้วเป็นปกติได้อย่างดี
เมนูอาหารคาว
- สปาเก็ตตี้ พ้าสต้า
- สลัดผัก
- ผสมในแป้งขนมปัง เบเกอรี่ มัฟฟิน หรือที่เรียกว่า แป้งเมล็ดเชีย (Chia seed flour)
- โรยบนข้าว
- ผสมในซ้อสต่างๆ
เมนูของหวานและของทานเล่น
- โยเกิร์ต
- ซีเรียลธัญพืช
- ผสมแยม/สเปรดทาขนมปัง
- ไอศกรีม
- พุดดิ้ง
- แพนเค๊ก
- โปรตีนบาร์
- คุ๊กกี้
เครื่องดื่ม
- น้ำผลไม้
- นม
- ชา กาแฟ
เหมาะกับผู้ที่ทานมังสวิรัติหรืออาหารเจ
เมล็ดเชียสามารถเติมเต็มสารอาหารสำหรับคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มักจะขาด โดยเฉพาะสารอาหารในกลุ่มโปรตีน โอเมก้า 3 6 9 วิตามินบี และวิตามินและแร่ธาตุหลักอีกหลายชนิด จึงเป็นแหล่งอาหารชั้นยอดสำหรับคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์
รูปแบบการรับประทานเมล็ดเชีย
เมล็ดเชียดิบแบบเม็ด – รับประทานแบบแห้ง โดยการไปโรยหรือผสมในอาหารต่างๆ ในรูปแบบนี้จะดูดซึมได้ยากกว่าแบบเป็นอื่นๆ และเมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วจะดึงน้ำจากตัวเราไปใช้ จึงแนะนำว่าเราควรดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ หากเรารับประทานเมล็ดเชียแบบดิบในปริมาณมาก
เมล็ดเชียแบบบด – ในรูปแบบนี้ร่างกายจะดูดซึมได้ง่ายกว่ารูปแบบที่เป็นทั้งเม็ด แต่รูปแบบนี้ควรระมัดระวังวิธีการเก็บรักษาเพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าสารอาหารไป โดยปิดให้มิดชิด
เมล็ดเชียแบบน้ำหรือแบบเจล (Chia gel) หมายถึง เมล็ดเชียที่นำไปแช่น้ำจนเมล็ดเชียพองตัวและได้วุ้นที่เป็นเนื้อข้น นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่าการรับประทานเมล็ดเชียแบบแช่น้ำก่อนจะให้คุณค่าสารอาหารที่เราดูดซึมได้ง่ายกว่าการรับประทานแบบดิบ เพราะเมื่อเรานำไปแช่น้ำ เมล็ดเชียจะพองตัวพร้อมกับปล่อยเอนไซม์ที่ปกติแล้วถูกใช้ในการปกป้องเมล็ด และเอนไซม์มีเอกที่จะช่วยทำให้เราดูดซึมสารอาหารในเมล็ดเชียได้ดีขึ้น แนะนำแช่เมล็ดเชีย 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน และแช่ทิ้งไว้ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมง
น้ำมันเมล็ดเชีย – ในรูปแบบนี้ร่างกายจะสามารถดูดซึมไปได้ดีที่สุด เพราะเป็นโมเลกุลเล็กที่พร้อมที่จะดูดซึมได้ง่าย
เมล็ดเชีย ซื้อที่ไหนได้บ้าง ราคาเท่าไร
เมล็ดเจียจำหน่ายทั่วไปในซุปเปอร์มาเก็ต ร้านขายสินค้าและอาหารเกี่ยวกับสุขภาพ ร้านเครื่องสำอางค์และความงาม และสามารถหาซื้อได้ในอินเตอร์เน็ตตามเว็บไซต์ของเจ้าของแบรนด์หลายยี่ห้อ โดยเฉพาะในกลุ่มร้านที่เน้นสารสกัดจากธรรมชาติ
หากต้องการหาซื้อเมล็ดเพื่อนำไปเพราะปลูก สามารถหาเมล็ดพันธุ์ได้จากมูลนิธิโครงการหลวง ชมรมเกษตรประจำจังหวัด และร้านขายเมล็ดพันธุ์บางแห่ง โดยมีทั้งจำหน่ายในราคาหลักสิบไปจนถึงแจกฟรี
ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดเชียมีอะไรบ้าง
- เมล็ดเชียแห้ง สำหรับรับประทาน
- น้ำมันเมล็ดเชีย
- สำหรับรับประทาน
- สำหรับบำรุงความงาม
- เซรั่มน้ำมันเมล็ดเชียสำหรับผิว และสำหรับเส้นผม
- สบู่เมล็ดเชีย
- แชมพูและครีมนวดผมจากเมล็ดเชีย
- โลชั่นเมล็ดเชีย
- ลิบปาล์มเมล็ดเชีย
- มาส์กผิว
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
คิดไม่ถึง! ยิ้มยังไงให้สวย เคล็ดลับถ่ายรูปยิ้มสวยเป็นธรรมชาติ ต้องทำอย่างนี้..
สงสัยมั้ยยิ้มยังไงให้สวยน่ารัก ใครอยากถ่ายรูปยิ้มสวย อย่าพลาด เคล็ดลับง่ายๆจากแดนปลาดิบ คุณเคยเป็นไหม ที่เวลาถ่ายรูป แล้วรู้สึกหน้าเกร็ง ยิ้มไม่เป็นธรรมชาติ และต้องมานั่งขบคิดว่าทำไมหลายๆคนยิ้มสวยยิ้มดูดี มีวิธียิ้มให้น่ารักมั้ยน้า...
7 เหตุผลทำไมคุณควรใช้น้ำมันบำรุงผิว (Face Oil) จากธรรมชาติ
น้ำมันบำรุงผิว (Face Oil) จากธรรมชาติ 7เหตุผลทำไมคุณควรใช้ออยทาหน้า น้ำมันบำรุงผิว (Face Oil) คือน้ำมันทาผิวที่สกัดจากพืชพรรณธรรมชาติ เป็นออยเซรั่มทาหน้าทาผิวกายที่ช่วยบำรุงผิวได้หลายด้าน เช่น ลดริ้วรอย ลดสิว แก้ปัญหาหน้ามัน เป็นต้น ...
โทษของการนอนดึกกับ4ปัญหาผิวเสีย
โทษของการนอนดึกนอนน้อยพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลอย่างไรบ้าง ผลของการนอนดึก 1.หน้าโทรมผิวแห้งแตก ดูเหี่ยวเฉา ไม่มีราศี เคยไหม โดนทักว่า "โทรมแต่เช้าเชียว" "เมื่อคืนอดนอนใช่มั้ย" โทษการนอนดึกนอนไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวเราดูโทรมได้อย่างชัดเจน...